วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัตถุประสงค์


เพื่อให้ทราบถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางสังคม




           ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขโดยด่วนและสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในสังคมปัจจุบัน กล่าวคือมีการส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนจำนวนหนึ่งทำให้พวกเขาได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากความไม่เท่าเทียมทางสังคมขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการพื้นฐานที่สมควรได้รับ
- พ.ศ.2550สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับความมั่งคั่ง (Wealth) ของครัวเรือนไทยเป็นครั้งแรก โดยครอบคลุมเรื่องการเป็นเจ้าของที่ดิน บ้านรถและทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆ ร้อยละ69ของทรัพย์สินทั้งประเทศอยู่ในความครอบครองของครัวเรือนที่รวยที่สุดซึ่งมีเพียงร้อยละ20 ของทั้งหมดเท่านั้นขณะที่ร้อยละ 20ซึ่งเป็นครัวเรือนที่ยากจนที่สุดมีทรัพย์สินรวมกันเพียงร้อยละ 1 นั่นคือห่างกันถึง 69 เท่า

สาเหตุและผลที่ตามมา
- สาเหตุเกิดจากผลพวงของแบบแผนการพัฒนาเศรษฐกิจลักษณะเฉพาะเองไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออกละเลยตลาดภายใน เน้นใช้แรงงานทักษะต่ำ ทอดทิ้งการพัฒนาเทคโนโลยีและการปฏิรูปที่ดินที่ไม่เคยมีนโยบายกระจายรายได้ การปกครองของรัฐบาลมีแนวโน้มเป็นรัฐรวมศูนย์อำนาจ ปิดกันขบวนการทางสังคมสู่รัฐสวัสดิการ
- ผลที่ตามมาก็คือเกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ชุมชนอ่อนแอเพราะมีการละทิ้งบ้านเกิดแรงงานหลักของครัวเรือนชนบทหลั่งไหลเข้าสู่โรงงาน การเข้าไม่ถึงบริการขั้นพื้นฐานจากรัฐ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมจากอุตสาหกรรมการผลิตที่ตอบสนองความต้องการภายนอกมากว่าภายใน ศีลธรรมจริยธรรมถูกละเลย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลดลงและเกิดปัญหาด้านสุขภาพอนามัย
ค่านิยม/อุดมการณ์ที่เกี่ยวข้อง
- เนื่องจากการพัฒนาที่ตามกระแสหลักที่เปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจึงก่อก่อให้เกิดพฤติกรรม บริโภคนิยมบุคคลในสังคมในแต่ละระดับต่างก็ติดอยู่ในวังวนของการบริโภควัตถุมีความรู้สึกว่าตนเองมีพร่องอยู่ตลอดเวลา

ผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์
- กลุ่มผู้ได้ประโยชน์ต่างก็เป็นชนชั้นนายทุนที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ได้ครอบครองความมั่งคั่งจากการค้าขายเป็นที่ระบบทุนนิยมเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเสรีภายใต้กลไกตลาด ซึ่งอาจฟังดูดีแต่การแข่งขันเสรีแบบทุนนิยมผู้ที่มีปัจจัยการผลิตมากกว่าจะอยู่รอด จนกลายเป็นการผูกขาดทางการค้าและส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น กลุ่มนี้จะเป็นชนชั้นผู้นำซึ่งมีอำนาจทางการต่อรองมากที่สุดในสังคม
- กลุ่มผู้เสียประโยชน์เป็นผู้ที่ไม่ได้ครอบครองปัจจัยการผลิตหรือเป็นชนชั้นแรงงานที่ถูกครอบงำโดยนายจ้างที่ขูดรีดผลประโยชน์ ในกลุ่มนี้ต่างมีความจำเป็นจะต้องบริโภคสินค้าและบริการจากกลุ่มที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและมีอำนาจต่อรองทางสังคมได้น้อย
มาตราการจัดการปัญหา
- จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้มีความสมดุลย์มากขึ้นกว่าเดิมกล่าวคือให้ความสำคัญพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน
- มีการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม มีการปฏิรูประบบภาษีในอัตราก้าวหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เช่น การกำหนดเพดานการถือครองที่ดิน การออกแบบภาษีทรัพย์สินเพื่อเพิ่มรายได้ให้รัฐบาลท้องถิ่น เป็นต้น
- ในด้านการปกครองต้องเน้นให้ประชาชนปกครองตนเองส่งเสริมให้มีการกระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างจริงจัง
- ในด้านสวัสดิการและการบริการพื้นฐานที่จำเป็นจะต้องเป็นไปอย่างครอบคลุมและทั่วถึง พัฒนาคุณภาพและการจัดสรรให้ดีขึ้น ควรส่งเสริมให้มีเงินออมตั้งแต่วัยทำงานเพื่อการใช้ในวัยชราภาพ

การติดตามผลการจัดการปัญหา
- จะต้องใช้นโยบายติดตามการทำงานที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องจริงจังและเร่งด่วน มีการตรวจสอบทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชนเพื่อให้การจัดการแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ จะต้องเน้นย้ำให้มีการปฏิบัติตามมาตราการจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำเพื่อให้ความเท่าเทียมเกิดขึ้นได้มากที่สุด

การเฝ้าระวัง
- ต้องมีการป้องกันไม่เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมนี้ขึ้น เช่น การปลูกฝังให้เยาวชนไม่แบ่งแยกชนชั้นฐานะแต่ต้องเห็นคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
- ต้องมีการตรวจสอบสภาวะอันนำไปสู่การเกิดปัญหาเดิมเพื่อจะได้สามารถแก้ไขได้ตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น ทำการสำรวจเป็นประจำทุกปีอย่างสม่ำเสมอเพื่อจะได้หาทางรับมือได้ทันถ่วงที
- ต้องมีการเตรียมการจัดการการรับมือ เปลี่ยนแปลงการแก้ไขจัดการให้สอดคล้องกับปัญหาเหล่านั้นที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
- ในการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างรากฐานของสังคมไทยไปด้วยซึ่งจะทำให้การพัฒนานั้นส่งผลประโยชน์ให้ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น