วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัตถุประสงค์


เพื่อให้ได้รู้ถึงปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคม










                          ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคมกำลังเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมาก เพราะปัญหาดังกล่าวนำไปสู่ปัญหาสังคมต่างๆ เช่น ปัญหาการหย่าร้าง ปัญหาการทารุณกรรมในครอบครัว ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาสิทธิเด็กและสตรี ปัญหาวัยรุ่น เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจเป็นแนวทางนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และการพนัน ต่อไปได้
                สาเหตุหลักๆ ของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคมนั้นมาจากการที่สังคมมีจำนวนสมาชิกหรือจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้คนในสังคมต้องแข่งขันกันในด้านต่างๆ จนเกิดความเครียด หรือสภาพสังคมที่เน้นวัตถุนิยม รวมทั้งการยับยั้งชั่งใจและการควบคุมอารมณ์ให้มีสติของคนในสังคมมีน้อยลง จึงทำให้หลายคนหันไปใช้กำลังและความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาต่างๆตนเองกำลังเผชิญอยู่

                แนวทางการแก้ไขปัญหาควรเริ่มจากการสร้างค่านิยมการให้เกียรติกันและกันในครอบครัว หันหน้าปรึกษาหารือกันทั้งทางด้านการเงิน การเรียน การดำเนินชีวิต และทางด้านจิตใจ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ครอบครัวมีความเอื้ออาทร ลดความรุนแงอย่างยั่งยืนได้ และต้องอาศัยความร่วมมือจากองค์กรช่วยเหลือต่างๆ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการเข้าไปรณรงค์และดูแลทำให้ปัญหาต่างๆ คลีคลายไปในทางที่ดี เช่น ส่งเสริมการสร้างครอบครัวใหม่ที่มีความเข้าใจกัน ส่งเสริมสิทธิสตรี ส่งเสริมการคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น 
อนึ่ง การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมจะเป็นทางออกที่ดีให้กับสังคมที่มีการแตกแยกด้านความคิดและใช้ความรุนแรงเข้าประหัตประหารกัน โดยเน้นการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านทางการประชุม สัมมนา และการทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน รวมทั้งร่วมกันสร้างค่านิยมการยอมรับความแตกต่างด้านความคิดเห็นของบุคคลอื่น เพราะถ้าหากสังคมไร้ค่านิยมดังกล่าว สังคมก็จะมีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง ปราศจากความสงบสุข และไม่อาจพัฒนาต่อไปได้
                นอกจากปัญหาสังคมที่ได้ยกตัวอย่างมาข้างต้น สังคมไทยยังมีปัญหาสังคมอีกมากมายที่มีความรุนแรงสูง เช่น ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาสุขภาพอนามัย ปัญหาคนว่างงาน ปัญหาคนชรา เป็นต้น ซึ่งทุกปัญหาต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกของสังคมในการพิจารณาถึงสาเหตุของแต่ละปัญหา แนวทางป้องกัน และร่วมกันแก้ไขปัญหาก่อนที่จะลุกลามไปมากกว่าเดิม ทั้งนี้หากทุกคนทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์โดยอยู่ในกรอบของกฎหมายและกฎเกณฑ์ทางสังคมก็ย่อมจะทำให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยได้อย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น