วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัตถุประสงค์

           เพื่อทำให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรหรือการตั้งครรภ์ที่พ่อแม่ไม่พร้อมที่จะดูแลและวิธีการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น





ท้องไม่พร้อม ปัญหาหนักใจของวัยรุ่นท้องก่อนวัยอันควร

           สังคมไทยในปัจจุบันนี้ เรื่องปัญหาเด็กที่ท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมีสูงมาก เพราะการคบเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ปกติของวัยรุ่น เด็กบางคนมีอิสระในการใช้ชีวิต สามารถทำอะไรได้ตามใจตัวเองมากขึ้น และเรื่องเทคโนโลยีก็ก้าวหน้าไปมากทำให้การติดต่อสื่อสารกันระหว่างเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ง่ายมาก
การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร คือการตั้งครรภ์ที่ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายยังไม่พร้อม  ในช่วงวัยรุ่นการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ทางร่างกายทำให้เกิดความพร้อม ทางภาวการณ์เจริญพันธุ์สูงมาก และส่วนมากยังเป็นนักเรียนอยู่ เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ อาจจะต้องออกจากโรงเรียน บางคนตัดสินใจด้วยการทำแท้งซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดทางศีลธรรมอย่างมาก การทำแท้งจะส่งผลกระทบจิตใจต่อผู้ทำและยังส่งผลเสียต่อด้านร่างกายอีกด้วย

สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นไทยท้องไม่พร้อม หรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มีหลายสาเหตุดังนี้

  • ไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่ดีและขาดการเอาใจใส่จากพ่อและแม่
  • ขาดการชี้แนะเรื่องเพศสัมพันธ์จากพ่อแม่หรือคนเลี้ยงดู ทำให้เรื่องเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปิด
  • เด็กใช้เวลาส่วนมากหมกมุ่นอยู่กับตัวเองมากเกินไป เช่น การใช้งานอินเตอร์เน็ต การดูหนังสือที่ไม่เหมาะสม
  • การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนทางด้านอารมณ์ของวัยรุ่น
  • ไม่มีความรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง
  • สภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เช่น การอยู่หอพักคนเดียว หรือ การเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
  • สื่อต่างๆที่ในปัจจุบันเข้าถึงวัยรุ่นได้ง่ายขึ้น เช่น สื่อลามก หนังสือ ซีดี
  • การอยู่กันสองต่อสองในที่ลับตาคน
  • การใช้สารเสพติด หรือ พวกเครื่องดื่มมึนเมาจนทำให้ขาดสติ
  • การเลียนแบบวัฒนธรรมที่ผิดๆจากต่างประเทศ เช่น การอยู่กินกันก่อน การมีเพศสัมพันธ์แบบเก็บแต้ม หรือการลองมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อน
  • คลั่งวัตถุนิยมจนต้องเอาตัวเข้าแลกเพื่อให้ได้สิ่งของตามที่ต้องการ เช่น ยอมนอนกับผู้ชายเพื่อจะได้เงิน

ผลที่เกิดขึ้นจากการท้องไม่พร้อม หรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมีดังนี้

  • เสียการเรียน เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจิตใจของฝ่ายหญิงที่ยังไม่พร้อมจะมีลูก ก็จะไม่มีความต้องการเรียนรู้สิ่งใดๆเลย จนในที่สุดจะเป็นปัญหาของการขาดเรียน โดดเรียน บางคนต้องลาออกจากทางโรงเรียน ปัญหาตรงนี้จะกระทบกับฝ่ายหญิงเป็นส่วนมาก ฝ่ายชายอาจจะยังเรียนต่อได้ตามปกติ
  • อาจเกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นส่วนมากมักจะไม่ค่อยรู้จักการป้องกันเมื่อต้องการมีเพศสัมพันธ์ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคจากอีกฝ่ายจึงเป็นเรื่องง่าย เช่น กามโรค โรคเอดส์ ในส่วนของโรคเอดส์เป็นโรคที่ร้ายแรงมากเพราะยังไม่มีการรักษาที่หายขาดได้ ไม่มีวัคซีนป้องกัน และถ้าหากฝ่ายหญิงตั้งท้องยังส่งผลให้เด็กในครรภ์เป็นโรคไปด้วย
  • สร้างความทุกข์ใจให้กับพ่อแม่ เพราะคนเป็นพ่อแม่ย่อมต้องการเห็นอนาคตที่สดใสของลูก แต่เมื่อลูกท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรจึงเป็นเรื่องที่ทำให้ท่านทุกข์ใจมากเลยนะคะ
  • เกิดความขัดแย้งในครอบครัว เกี่ยวกับเรื่องการเลี้ยงดูเด็กและเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นเกี่ยวกับตัวเด็กที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะถ้าหากท้องไม่พร้อม สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะไม่พร้อมเช่นกัน
  • เกิดปัญหาหย่าร้างสูงมาก เพราะเด็กที่ท้องไม่พร้อม ส่วนมากยังอยู่ในช่วงวัยเรียนหนังสือยังขาดความรับผิดชอบอยู่ และบางคู่ก็ไม่ได้ตั้งครรภ์เพราะความรัก แต่เป็นเพียงการอยากลองจึงทำให้ยังไม่พร้อมในการมีครอบครัว
การแก้ไขปัญหาวัยรุ่นท้องไม่พร้อม
             สามารถทำได้จากหลายทาง เช่น ครอบครัวควรให้ความรักและเอาใจใสบุตรหลานให้มาก ไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่กับตัวเองมากเกินไป สถาบันการศึกษาก็มีส่วนสำคัญมากเพราะเป็นที่ๆ เด็กใช้เวลาอยู่มากพอๆ กับอยู่บ้าน ควรจะสอนหรือแนะนำการใช้ชีวิตและวิธีการมีเพศสัมพันธ์รวมไปถึงการป้องกันอย่างละเอียด ถ้าทุกฝ่ายช่วยกันก็จะสามารถป้องกันปัญหาการท้องไม่พร้อมของเด็กวัยรุ่นได้มากเลยค่ะ


วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัตถุประสงค์


เพื่อให้ทราบถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางสังคม




           ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขโดยด่วนและสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในสังคมปัจจุบัน กล่าวคือมีการส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนจำนวนหนึ่งทำให้พวกเขาได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากความไม่เท่าเทียมทางสังคมขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการพื้นฐานที่สมควรได้รับ
- พ.ศ.2550สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับความมั่งคั่ง (Wealth) ของครัวเรือนไทยเป็นครั้งแรก โดยครอบคลุมเรื่องการเป็นเจ้าของที่ดิน บ้านรถและทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆ ร้อยละ69ของทรัพย์สินทั้งประเทศอยู่ในความครอบครองของครัวเรือนที่รวยที่สุดซึ่งมีเพียงร้อยละ20 ของทั้งหมดเท่านั้นขณะที่ร้อยละ 20ซึ่งเป็นครัวเรือนที่ยากจนที่สุดมีทรัพย์สินรวมกันเพียงร้อยละ 1 นั่นคือห่างกันถึง 69 เท่า

สาเหตุและผลที่ตามมา
- สาเหตุเกิดจากผลพวงของแบบแผนการพัฒนาเศรษฐกิจลักษณะเฉพาะเองไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออกละเลยตลาดภายใน เน้นใช้แรงงานทักษะต่ำ ทอดทิ้งการพัฒนาเทคโนโลยีและการปฏิรูปที่ดินที่ไม่เคยมีนโยบายกระจายรายได้ การปกครองของรัฐบาลมีแนวโน้มเป็นรัฐรวมศูนย์อำนาจ ปิดกันขบวนการทางสังคมสู่รัฐสวัสดิการ
- ผลที่ตามมาก็คือเกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ชุมชนอ่อนแอเพราะมีการละทิ้งบ้านเกิดแรงงานหลักของครัวเรือนชนบทหลั่งไหลเข้าสู่โรงงาน การเข้าไม่ถึงบริการขั้นพื้นฐานจากรัฐ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมจากอุตสาหกรรมการผลิตที่ตอบสนองความต้องการภายนอกมากว่าภายใน ศีลธรรมจริยธรรมถูกละเลย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลดลงและเกิดปัญหาด้านสุขภาพอนามัย
ค่านิยม/อุดมการณ์ที่เกี่ยวข้อง
- เนื่องจากการพัฒนาที่ตามกระแสหลักที่เปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจึงก่อก่อให้เกิดพฤติกรรม บริโภคนิยมบุคคลในสังคมในแต่ละระดับต่างก็ติดอยู่ในวังวนของการบริโภควัตถุมีความรู้สึกว่าตนเองมีพร่องอยู่ตลอดเวลา

ผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์
- กลุ่มผู้ได้ประโยชน์ต่างก็เป็นชนชั้นนายทุนที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ได้ครอบครองความมั่งคั่งจากการค้าขายเป็นที่ระบบทุนนิยมเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเสรีภายใต้กลไกตลาด ซึ่งอาจฟังดูดีแต่การแข่งขันเสรีแบบทุนนิยมผู้ที่มีปัจจัยการผลิตมากกว่าจะอยู่รอด จนกลายเป็นการผูกขาดทางการค้าและส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น กลุ่มนี้จะเป็นชนชั้นผู้นำซึ่งมีอำนาจทางการต่อรองมากที่สุดในสังคม
- กลุ่มผู้เสียประโยชน์เป็นผู้ที่ไม่ได้ครอบครองปัจจัยการผลิตหรือเป็นชนชั้นแรงงานที่ถูกครอบงำโดยนายจ้างที่ขูดรีดผลประโยชน์ ในกลุ่มนี้ต่างมีความจำเป็นจะต้องบริโภคสินค้าและบริการจากกลุ่มที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและมีอำนาจต่อรองทางสังคมได้น้อย
มาตราการจัดการปัญหา
- จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้มีความสมดุลย์มากขึ้นกว่าเดิมกล่าวคือให้ความสำคัญพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน
- มีการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม มีการปฏิรูประบบภาษีในอัตราก้าวหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เช่น การกำหนดเพดานการถือครองที่ดิน การออกแบบภาษีทรัพย์สินเพื่อเพิ่มรายได้ให้รัฐบาลท้องถิ่น เป็นต้น
- ในด้านการปกครองต้องเน้นให้ประชาชนปกครองตนเองส่งเสริมให้มีการกระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างจริงจัง
- ในด้านสวัสดิการและการบริการพื้นฐานที่จำเป็นจะต้องเป็นไปอย่างครอบคลุมและทั่วถึง พัฒนาคุณภาพและการจัดสรรให้ดีขึ้น ควรส่งเสริมให้มีเงินออมตั้งแต่วัยทำงานเพื่อการใช้ในวัยชราภาพ

การติดตามผลการจัดการปัญหา
- จะต้องใช้นโยบายติดตามการทำงานที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องจริงจังและเร่งด่วน มีการตรวจสอบทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชนเพื่อให้การจัดการแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ จะต้องเน้นย้ำให้มีการปฏิบัติตามมาตราการจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำเพื่อให้ความเท่าเทียมเกิดขึ้นได้มากที่สุด

การเฝ้าระวัง
- ต้องมีการป้องกันไม่เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมนี้ขึ้น เช่น การปลูกฝังให้เยาวชนไม่แบ่งแยกชนชั้นฐานะแต่ต้องเห็นคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
- ต้องมีการตรวจสอบสภาวะอันนำไปสู่การเกิดปัญหาเดิมเพื่อจะได้สามารถแก้ไขได้ตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น ทำการสำรวจเป็นประจำทุกปีอย่างสม่ำเสมอเพื่อจะได้หาทางรับมือได้ทันถ่วงที
- ต้องมีการเตรียมการจัดการการรับมือ เปลี่ยนแปลงการแก้ไขจัดการให้สอดคล้องกับปัญหาเหล่านั้นที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
- ในการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างรากฐานของสังคมไทยไปด้วยซึ่งจะทำให้การพัฒนานั้นส่งผลประโยชน์ให้ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต

วัตถุประสงค์


เพื่อให้ทราบถึงมลพิษทางสิ่งแวดล้อม 
ตลอดจนแนวทางการป้องกันแก้ไขที่ดี





        ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์กำลังประสบอยู่ในปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสารพิษ และปัญหาของระบบนิเวศ ซึ่งปัญหาที่สำคัญเหล่านี้มาจากปัญหาย่อยๆหลายปัญหา เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่รีบป้องกันแก้ไข อาจส่งผลกระทบต่อวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน 

มลพิษทางสิ่งแวดล้อม 

สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น น้ำ อากาศ ดิน เป็นต้น มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้มากมาย แต่การใช้ประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทำให้เกิดมลพิษขึ้นในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ 

มลพิษทางสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาวะที่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติถูกปะปนหรือปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม หรือสารมลพิษ ทำให้มีลักษณะหรือสมบัติแตกต่างไปจากเดิมหรือจากธรรมชาติ โดยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง ยังผลให้ใช้ประโยชน์ได้น้อยหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย และมีผลเสียต่อสุขภาพ 

มลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง และมลพิษที่เกิดจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 

มลพิษทางน้ำ 

มลพิษทางน้ำ (Water pollution) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหามลพิษอื่นๆปัญหามลพิษทางน้ำมักเกิดกับเมืองใหญ่ๆแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรกและสารมลพิษต่างๆทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม 

สาเหตุของการเกิดมลพิษทางน้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำทิ้งจากที่อยู่อาศัย ซึ่งมักจะมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนมาด้วย น้ำทิ้งดังกล่าวมักเป็นสาเหตุของการที่น้ำมีสีดำ และมีกลิ่นเน่าเหม็น น้ำที่มีสารพิษตกค้างอยู่ เช่น น้ำจากแหล่งเกษตรกรรมที่มีปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช น้ำทิ้งที่มีโลหะหนักปนเปื้อนจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น สารเหล่านี้จะถูสะสมในวงโคจรโซ่อาหารของสัตว์น้ำ และมีผลต่อมนุษย์ภายหลัง 

ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ 

น้ำที่อยู่ในระดับรุนแรง ซึ่งประชาชนทั่วไป เรียกว่า น้ำเสีย มีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน คือตะกอนขุ่นข้น สีดำคล้ำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ก่อให้เกิดความรำคราญต่อชุมชน และอาจมีฟองลอยอยู่เหนือน้ำเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ลักษณะของน้ำเสียบางครั้งเราอาจมองไม่เห็นก็ได้ ถ้าน้ำนั้นปนเปื้อนด้วยสารพิษ เช่น ยาปราบศัตรู หรือยาฆ่าแมลง แร่ธาตุ เป็นต้น 

น้ำที่เป็นมลพิษจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างเห็นได้ชัดกว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆเพราะก่อให้เกิดผลเสียหายหลายประการ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 

1. ผลกระทบทางด้านสาธารณสุข 

2. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ 

3. ผลกระทบทางด้านสังคม 

แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ 

1. การบำบัดน้ำเสีย 

2. การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 

3. การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางน้ำแก่ประชาชน 

4. การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ 

5. การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำและสำรวจแหล่งที่ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ 
มลพิษทางอากาศ 

ส่วนใหญ่เกิดจากควันของยานพาหนะและจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันดังกล่าวมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์โดยตรง ควันจากโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งที่มี ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือไนโตรเจนออกไซด์ เป็นองค์ประกอบ เมื่อรวมกับละอองน้ำในอากาศ จะกลายเป็นสารละลายกรดซัลฟิวริกหรือกรดไนตริก กลายเป็นฝนกรด ตกลงมาอันเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและยังทำให้สิ่งก่อสร้างเกิดการสึกกร่อนได้ 

สถานที่กำลังประสบปัญหากับมลพิษทางอากาศเหล่านี้ จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โรคทรวงอก เยื่อบุตาอักเสบ และเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ตลอดจนเสียชีวิตได้ 

ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effect) 

เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภูมิอากาศทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประมาณการณ์ไว้ว่าที่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไป ฤดูหนาวจะสั้นขึ้นและมีความชื้นมาก ส่วนฤดูร้อนจะยาวนานขึ้นอาจทำให้พื้นดินบางแห่งบนโลกกลายเป็นทะเลทราย และในเขตร้อนอาจจะมีพายุบ่อยครั้งและรุนแรง บริเวณขั้วโลกความร้อนส่งผลโดยตรงต่อการละลายของหิมะเป็นเหตุ ให้ปริมาณน้ำในทะเลเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเกิดอุทกภัย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์ เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ปากใบปิดไม่สามารถรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำได้การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง สัตว์บางชนิดอาจได้รับความกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อตา ผิวหนัง และเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ได้ในที่สุด 

สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน(CFC) มีชื่อทางการค้าว่า ฟรีออน(Freon) ฟรีออนใช้ในการอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น ใช้เป็นสารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซขับดันในผลิตภัณฑ์สเปรย์ เป็นส่วนผสมในการผลิตโฟม ใช้กับเครื่องสำอาง ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮออล์ ใช้เป็นตัวทำละลายและทำความสะอาด ใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า และใช้เป็นสารดับเพลิง เป็นต้น 
มลพิษทางเสียง 

สิ่งที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดเสียงดังจนเป็นอันตรายต่อมนุษย์นั้นมีหลายประการ เช่น เสียงอึกทึกที่เกิดจากเครื่องยนต์ตามท้องถนน โดยเฉพาะถนนที่มีปัญหาเรื่องการจารจรติดขัด เสียงเครื่องบิน เสียงดนตรี 

ในดิสโก้เทค เสียงเพลงจากซาวด์อะเบ้าท์ เสียงเครื่องจักรของโรงงาน เสียงเครื่องขยายเสียงจากงานชุมชนต่างๆ นอกจากนี้ยังมีเสียงจากอื่นๆอีกที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมอันเป็นเสียงที่ไม่พึงประสงค์และมีเสียงดังเกินเหตุ 

ระดับเสียงปกติที่ไม่เป็นอันตรายต่อการได้ยินของคนจะอยู่ในระดับไม่เกิน 80 – 85 เดซิเบล และระดับเสียงในระดับปกติธรรมดาควรไม่เกิน 50 – 70 เดซิเบล แต่ระดับเสียงในดิสโก้เทคเฉลี่ยประมาณ 90 – 100 เดซิเบล นับว่าเป็นอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพ โดยเฉพาะซาวด์อะเบาท์ เป็นการนำเอาเครื่องฟังแนบประกบไว้กับหูตลอดเวลา และถ้ามีเสียงรบกวนก็จะเปิดเสียงดังเพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มระดับคลื่นเสียงให้มีผลต่อระบบประสาทหูโดยตรง ก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน เป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหูอาจมีผลทำให้เกิดอาการหูหนวกเมื่อมีอายุมากขึ้น และเกิดปัญหาหูตึงได้ในที่สุด 

ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 

ส่วนใหญ่เป็นการกระทำของมนุษย์ เช่น การทิ้งขยะมูลฝอยลงบนถนน แม่น้ำ ลำคลอง ชายหาด หรือตามสถานที่สาธรณต่างๆ การปลูกสร้าง การติดป้ายโฆษณาการเดินสายไฟฟ้าที่ไม่เป็นระเบียบ การปล่อยน้ำเสียหรือควันของโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดมลพิษทางทัศนาการ เพราะทำให้ความสวยงามของสถานที่ต่างๆต้องสูญเสียไป 


วัตถุประสงค์


เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและทางออกของเศรษฐกิจไทย





                      ประชาชนถูกรัฐบาลอธิบายให้เข้าใจเรื่องเศรษฐกิจแบบง่ายๆ ว่า มีโครงการแบบประชานิยมและการกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุนจากต่างชาติและการส่งออกเยอะจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น นี่เป็นความเชื่อที่ไม่ตรงกับความจริง เบื้องหลังนโยบายนี้คือการหาความมั่งคั่งและคะแนนนิยมของพวกนักการเมืองและธุรกิจขนาดใหญ่ที่ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน  นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการพึ่งพาการลงทุนจากต่างชาติและส่งออกมาก แถมยังมีการคอร์รัปชันเพิ่มขึ้นมากนั้น ให้ประโยชน์นักการเมืองและคนรวย คนชั้นกลางส่วนน้อย มากกว่าคนส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกร คนงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย เศรษฐกิจแบบนี้จึงเติบโตแบบฉาบฉวยไม่ยั่งยืน 
                
                       นักเศรษฐศาสตร์ทุกสำนัก มองเห็นตรงกันว่านโยบายรัฐบาลรับซื้อข้าวราคาสูงกว่าตลาด (จำนำข้าว) การอุดหนุนเงินให้ผู้ซื้อรถยนต์คันแรก การอุดหนุนราคาเชื้อเพลิง ฯลฯ ล้วนเป็นการลงทุนแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ที่นอกจากจะเสียเงินจากภาษีประชาชนไปอย่างไม่คุ้มค่าแล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียต่อทั้งระบบเศรษฐกิจและระบบนิเวศอย่างมากด้วยโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มาทโครงสร้างพื้นฐาน และอีก 3 แสนล้านบาทมาแก้ปัญหาน้ำท่วม เป็นโครงการที่จะก่อหนี้มาก และได้ผลตอบแทนน้อยไม่ต่างจากนโยบายประชานิยม การสร้างทางด่วน รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯไปหัวเมืองใหญ่ 2-3 แห่ง ส่วนใหญ่คือการขนส่งคน ไม่ใช่การขนส่งสินค้า การขนส่งคน คือการให้บริการ ไม่ใช่การเพิ่มผลผลิต แม้จะอำนวยความสะดวกให้คนเดินทางได้เร็ว ทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้บ้าง หรือกรณีรถไฟฟ้า อาจลดการใช้รถส่วนตัวได้บ้าง แต่การสร้างทางด่วน ยิ่งส่งเสริมการใช้รถส่วนตัว และการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงขึ้น รถไฟความเร็วสูงที่มีต้นทุนทั้งการลงทุนและการดำเนินงานที่ใช้ค่าเชื้อเพลิงสูงถ้ามีผู้โดยสารน้อยอาจขาดทุนได้ โดยรวมแล้ว โครงการขนส่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องการเพิ่มผลิตภาพของเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำบางส่วนอาจได้ประโยชน์บ้าง แต่เขื่อนมาวงก์และเขื่อนอื่นๆ ที่รัฐบาลโมเมจะสร้างทั้งๆ ที่ไม่ผ่านการประเมินผลกระทบนั้น
                
                   นอกจากจะป้องกันน้ำท่วมได้น้อยแล้ว ประโยชน์ทางชลประทานก็น้อยมากด้วย เมื่อเทียบกับการสูญเสียจากการทำลายป่า ระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและมีต้นทุนทางธรรมชาติสูงมากการที่รัฐชอบสร้างโครงการขนส่งขนาดใหญ่และเขื่อนขนาดใหญ่ แทนที่จะคิดถึงการกระจายการพัฒนาประเทศให้ดีและการขนส่งที่ประหยัดมีประสิทธิภาพ การทำชลประทานขนาดเล็ก เช่น ฝาย อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ ที่จะมีผลเสียต่อระบบนิเวศน้อยกว่าและได้ประโยชน์ทั่วถึงมากกว่า เป็นเพราะรัฐบาลต้องการผลประโยชน์จากค่าคอมมิชชั่นการก่อสร้าง รวมทั้งการเก็งกำไรซื้อขายที่ดินที่ติดโครงการ และเพราะคิดง่ายๆ ว่าการลงทุนขนาดใหญ่คือการกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตและจะกระจายไปทุกส่วนเองแต่จริงๆ แล้วการลงทุนขนาดใหญ่ทั้งการขนส่งและเขื่อน เป็นการใช้งบเงินกู้เพื่อซื้อของจากต่างประเทศมาก เงินจะไหลออกและได้ประโยชน์กับคนบางกลุ่ม ไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจการผลิตของคนทั้งประเทศเข้มแข็งขึ้น โครงการเหล่านี้นอกจากจะแก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด ไม่มีประสิทธิภาพคุ้มค่าแล้ว ยังจะทำให้ประเทศชาติเป็นหนี้สินเกินตัว (ทั้งหนี้ภาครัฐ เอกชน และประชาชน) เศรษฐกิจภาครัฐจะมีปัญหาวิกฤตภายใน 3-4 ปีข้างหน้า ซึ่งจะลามไปสู่ภาคเอกชนด้วยนักเศรษฐศาสตร์ภาครัฐชอบอ้างว่า การกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจะทำให้เพิ่มขึ้นเป็นก่อหนี้สาธารณะราว 50% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม GDP เป็นอัตราปกติ เมื่อเทียบกับประเทศตะวันตก แต่พวกเขาไม่ได้มองความจริงอีกข้อหนึ่งว่า รัฐบาลประเทศตะวันตกมีรายได้จากภาษีและอื่นๆ ราว 40% ของ GDP ขณะที่รัฐบาลไทยมีรายได้แค่ 18% ของ GDP ไทยจึงมีความสามารถในการใช้หนี้ต่ำกว่า ดังนั้นจึงควรก่อหนี้ต่ำกว่า ปัญหาอีกข้อหนึ่งคือ รัฐบาลไทยใช้วิธีซ่อนหนี้กองทุนฟื้นฟูธนาคาร สถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจบางอย่างไว้ ทำให้ตัวเลขยอดหนี้สาธารณะของประเทศไทยต่ำกว่าตัวเลขทางบัญชี แต่หนี้เหล่านี้ก็คือหนี้สาธารณะที่คนไทยและลูกหลานต้องแบกรับ (ด้วยการจ่ายภาษีเพิ่ม) อยู่ดี
             
                   คำว่าโครงสร้างพื้นฐานในทางเศรษฐศาสตร์นั้นรวมถึงการพัฒนาการศึกษา การวิจัย วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีด้วย นี่คือสิ่งที่จะช่วยให้แรงงานมีคุณภาพ เพิ่มผลิตการผลิตได้อย่างแท้จริง และขณะนี้โครงสร้างพื้นฐานด้านนี้เราอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก (การประเมินความสามารถในการแข่งขันของ IMD) เรื่องการศึกษา เราใช้งบประมาณมาก แต่ได้ประสิทธิภาพน้อย ต้องรื้อระบบการศึกษาใหม่ พัฒนาผู้บริหารและครูอาจารย์ให้ฉลาดและทำงานมีประสิทธิภาพจริงจัง ส่วนการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยียังใช้งบน้อย แต่ต้องการปฏิรูปเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการด้วยเช่นกัน ไม่ใช่แค่การเพิ่มงบประมาณไปให้โครงสร้างเก่า ซึ่งทำงานแบบราชการรวมศูนย์ที่ศูนย์กลาง ซึ่งเป็นระบบที่ล้าสมัยได้ผลน้อยทางออกของเศรษฐกิจไทยคือ ต้องเน้นการพัฒนาแรงงาน ทรัพยากรและตลาดภายในประเทศเพิ่มขึ้น ใช้งบลงทุนเพื่อพัฒนาคน องค์กร สถาบันต่างๆ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นการปฏิรูประบบการศึกษา ฝึกอบรม วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบมุ่งใช้งานได้พึ่งตนเองได้เพิ่มขึ้น ปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ ปฏิรูปการคลัง การธนาคาร การขนส่ง การตลาด ให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ปฏิรูปที่ดินตามแนวทางโฉนดชุมชน ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสาร พัฒนาชลประทานขนาดเล็กอย่างทั่วถึง
ปฏิรูปการขนส่งทั้งคนและสินค้าอย่างประหยัดมีประสิทธิภาพ (ลดการใช้พลังงานซึ่งไทยต้องสั่งเข้าสูงมากลง) พัฒนาพลังงานทางเลือก แปรรูปผลผลิตการเกษตรต่างๆ เช่น ยาง ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ส่งเสริมหัตถกรรม อุตสาหกรรมขนาดกลางขนาดย่อมที่ใช้วัตถุดิบและฝีมือภายในประเทศให้แข่งขันได้เพิ่มขึ้น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และศิลปวัฒนธรรม การปฏิรูปเรื่องสาธารณสุข การประกันสุขภาพ และการประกันสังคม สวัสดิการ การกระจายพัฒนาเศรษฐกิจสังคมสู่จังหวัดต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างจริงจัง แทนที่จะรวมศูนย์การพัฒนาทางเศรษฐกิจอยู่ในกรุงเทพมากไป ซึ่งทั้งไม่สมดุล ไม่เป็นธรรม ทั้งสิ้นเปลืองต้นทุนในการดูแลจัดการและการขนส่งที่สูงมาก และกรุงเทพซึ่งพื้นที่ต่ำและติดทะเลเสี่ยงมากที่จะถูกน้ำท่วมในอนาคตอันไม่ไกลนี้การผลาญงบประมาณไปกับโครงการประชานิยมที่มุ่งหาเสียงมากเหล่านี้อีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็จะหมดไป เพราะเศรษฐกิจไทยจะพังแบบกรีกและประเทศอื่น ๆ (รัฐบาลถังแตก เศรษฐกิจตกต่ำ, คนว่างงานสูง)
ทางออกคือคนที่รู้ปัญหาต้องคิดหาทางผลักดันให้เกิดการปฏิรูปทั้งระบบเศรษฐกิจการเมืองสังคม เพื่อทำให้ประชาชนฉลาดขึ้น มีผลิตภาพสูงขึ้น รวมกลุ่มสร้างอำนาจต่อรองได้เพิ่มขึ้น แก้ปัญหาด้วยกลุ่มองค์กรของประชาชนเป็นด้านหลัก เน้นนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพึ่งแรงงาน ทรัพยากรตลาดภายในสูงขึ้น และส่งออกสินค้าประเภทเกษตร อุตสาหกรรม หัตถกรรมที่ให้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เน้นการกระจายให้ประชาชนส่วนใหญ่มีกินมีใช้แบบพอเพียงอย่างมีคุณภาพชีวิต






วัตถุประสงค์


เพื่อให้ได้รู้ถึงปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคม










                          ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคมกำลังเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมาก เพราะปัญหาดังกล่าวนำไปสู่ปัญหาสังคมต่างๆ เช่น ปัญหาการหย่าร้าง ปัญหาการทารุณกรรมในครอบครัว ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาสิทธิเด็กและสตรี ปัญหาวัยรุ่น เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจเป็นแนวทางนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และการพนัน ต่อไปได้
                สาเหตุหลักๆ ของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคมนั้นมาจากการที่สังคมมีจำนวนสมาชิกหรือจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้คนในสังคมต้องแข่งขันกันในด้านต่างๆ จนเกิดความเครียด หรือสภาพสังคมที่เน้นวัตถุนิยม รวมทั้งการยับยั้งชั่งใจและการควบคุมอารมณ์ให้มีสติของคนในสังคมมีน้อยลง จึงทำให้หลายคนหันไปใช้กำลังและความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาต่างๆตนเองกำลังเผชิญอยู่

                แนวทางการแก้ไขปัญหาควรเริ่มจากการสร้างค่านิยมการให้เกียรติกันและกันในครอบครัว หันหน้าปรึกษาหารือกันทั้งทางด้านการเงิน การเรียน การดำเนินชีวิต และทางด้านจิตใจ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ครอบครัวมีความเอื้ออาทร ลดความรุนแงอย่างยั่งยืนได้ และต้องอาศัยความร่วมมือจากองค์กรช่วยเหลือต่างๆ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการเข้าไปรณรงค์และดูแลทำให้ปัญหาต่างๆ คลีคลายไปในทางที่ดี เช่น ส่งเสริมการสร้างครอบครัวใหม่ที่มีความเข้าใจกัน ส่งเสริมสิทธิสตรี ส่งเสริมการคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น 
อนึ่ง การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมจะเป็นทางออกที่ดีให้กับสังคมที่มีการแตกแยกด้านความคิดและใช้ความรุนแรงเข้าประหัตประหารกัน โดยเน้นการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านทางการประชุม สัมมนา และการทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน รวมทั้งร่วมกันสร้างค่านิยมการยอมรับความแตกต่างด้านความคิดเห็นของบุคคลอื่น เพราะถ้าหากสังคมไร้ค่านิยมดังกล่าว สังคมก็จะมีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง ปราศจากความสงบสุข และไม่อาจพัฒนาต่อไปได้
                นอกจากปัญหาสังคมที่ได้ยกตัวอย่างมาข้างต้น สังคมไทยยังมีปัญหาสังคมอีกมากมายที่มีความรุนแรงสูง เช่น ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาสุขภาพอนามัย ปัญหาคนว่างงาน ปัญหาคนชรา เป็นต้น ซึ่งทุกปัญหาต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกของสังคมในการพิจารณาถึงสาเหตุของแต่ละปัญหา แนวทางป้องกัน และร่วมกันแก้ไขปัญหาก่อนที่จะลุกลามไปมากกว่าเดิม ทั้งนี้หากทุกคนทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์โดยอยู่ในกรอบของกฎหมายและกฎเกณฑ์ทางสังคมก็ย่อมจะทำให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยได้อย่างแน่นอน

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัตถุประสงค์


          เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหายาเสพติด      
  









                 ยาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติที่นับวันจะเพิ่มความรุนแรงทุกขณะ ดังจะเห็นได้ากสถิติการจับกุมผู้กระทำความผิดเมื่อปีพ.ศ. 2545 จำนวน 265,540 ราย ต่อมาจำนวนคดีได้ลดลงเหลือ 74,254 รายในปี พ.ศ. 2547 แต่หลังจากนั้นคดียาเสพติดก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2553 มีผู้กระทำผิดสูงถึง 266,010 ราย แต่มาในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2555 ปัญหายาเสพติดยังคงมีความรุนแรงอยู่แม้จำนวนคดีและผู้กระทำผิดจะมีน้อยลง โดยผู้กระทำความผิด 60,000 ราย แต่ปริมาณยาเสพติดที่สำคัญที่สามารถยึดได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามกฎหมายได้ให้ความหมายของยาเสพติดว่า หมายถึง ยา สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆที่เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยการรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีการใดก็ตามทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ
              สาเหตุของยาเสพติดมาจากความอยากรู้อยากลองของเด็กเอง และไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากผู้ใหญ่ จึงหลงผิดไม่รู้ถึงโทษหรือผลลัพธ์ที่จะเกิดตามมา และสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ผลักดันให้คนหันไปหายาเสพติด เช่น ครอบครัวแตกยก ความทุกข์ที่เกิดจากความยากไร้ การไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหญ่ๆได้ ทำให้จิตใจอ่อนแอ เมื่อได้รับการชุกจูงให้เสพยาเสพติดเพื่อคลายทุกข์ก็หันเข้าหายากเสพติดทันที ในขรณะเดียวกันเหล่ามิจฉาชพที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวก็พยายามผลิตและจำนวนยาเสพติดด้วยกลวิธีหลอกล่อให้คนเสพยาโดยไม่คำนึงถึงโทษที่จะเกิดขึ้นกับคนในสังคม

  แนวทางการแก้ไขและปราบปรามปัญหายาเสพติดที่สำคัญ ดังนี้
          1) นโยบายของรัฐบาล ด้านการปราบปรามปัญหายาเสพติด โดยการจับกุมทำลายแหล่งผลิตยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และออกกฎหมายเพิ่มโทษผู้ผลิต
             
           2) สถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดดำเนินการเพื่อให้เลิกใช้สารเสพติด อนึ่งการบำบัดรักษาต้องได้ความความร่วมมือเป็นอย่างดี จากสถาบันศึกษา สถาบันทางศาสนาและสถาบันนันทนาการ ในการให้ความช่วยเหลือผู้ติดยาด้านเงินบริจาคกับสถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้สามรถออกเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อให้กำลังใจแก่ผู้ติดยาได้อย่างสม่ำเสมอ
           
           3) ความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชน ปัจจุบันมีองค์กรเอกชนมากมายที่ให้ความช่วยเหลือผู้ติดยาให้สามารถ ลด ละ เลิกการใช้สารเสพติด เช่น สำนักงานสร้างเสริมสุภาวะ (สสส.) เป็นต้น ในขณะเดียวกันได้มีการสนับสนุนให้สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สร้างภูมิคุ้มกันให้คนในครอบครัวและสังคม เป็นคนดีและเป็นที่รักของคนรอบข้าง รู้ผิดรู้ชอบ และสามารถช่วยแบ่งเบาความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับคนอื่นได้หากปัญหาชีวิต ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะทำให้คนหลีกหนียาเสพติดได้
                
            ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาทางสังคมที่ก่อให้เกิดผลเสียกับทั้งสู้เสพเองและต่อสังคมส่วนรวม เพราะผู้ติดยาเสพติดอาจจะสร้างปัญหาสังคมรุนแรงตามมาได้ เช่น อาชญากรรม จี้ปล้น การจับตัวประกันเมื่อเกิดการคลุ้มคลั่ง การทำร้ายร่างกาย และการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ดังนั้น ประชากรทุกคนจึงต้องร่วมมือกันด้วยพลังสามัคคีปกป้อง และแก้ไขให้สังคมไทยหลุดพ้นจากปัญหายาเสพติดโดยเร็วที่สุด


















วัตถุประสงค์


เพื่อจะได้รู้ถึงปัญหาและวิธีการรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต








สังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ 



                 สังคมไทย คือ กลุ่มคนไทยที่ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินต่อเนื่องกันมา ในพื้นที่ที่มีขอบเขตจำนวนหนึ่ง บุคคลที่อยู่ในสังคมหนึ่งล้วนต้องพึ่งอาศัย และมีภาระหน้าที่ที่เป็นภาระส่วนตัว ครอบครัว และภาระหน้าที่ต่อชุมชน เช่น การปกป้องรักษาความสงบเรียบร้อยให้ชุมชน การปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริม    สถาบันต่างๆ เช่น สถาบันศาสนา เพื่อเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจให้สงบ ด้วยเหตุที่สังคมต้องการความมั่นคงปลอดภัยเป็นพื้นฐาน ชุมชนแต่ละแห่งจึงต้องมีความสามัคคีกัน มีอุดมการณ์ร่วมกัน 

                 
                   อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตคนไทยมิใช่จะเหมือนกันทั้งประเทศ ด้วยสาเหตุที่แต่ละภูมิภาคมีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการเคลื่อนย้ายของประชากร กลุ่มเผ่าพันธุ์ อันเป็นผลมาจากปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดเวลา จึงทำให้สังคมในแต่ละภูมิภาคแตกต่างกันออกไป เพื่อความเข้าใจลักษณะของสังคมไทยในภาพรวม จึงขอนำเสนอภาพรวมของแต่ละภาค